ลักษณะการประกอบธุรกิจ

รายได้ของบริษัทฯ ประมาณร้อยละ 94 : เป็นการจัดจำหน่ายภายในประเทศ และมีการส่งออกประมาณร้อยละ 6 ผลิตภัณฑ์ที่ส่งออกส่วนใหญ่เป็นผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารพื้นเมืองไทย ซึ่งจะพบปัญหากีดกันการนำเข้าจากเกือบทุกประเทศ สำหรับผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารทะเลแปรรูปในปีนี้มีการส่งออกลดลงจากผลกระทบจากระบบเศรษฐกิจของประเทศลูกค้า ในกลุ่มทวีปยุโรปที่มีความต้องการสินค้าที่ลดลง และความสามารถในการแข่งขันด้านราคากับประเทศคู่แข่ง เนื่องจาก ค่าเงินบาทที่แข็งค่ามาตลอดทั้งปี

การประกอบธุรกิจของกลุ่มบริษัท "ส. ขอนแก่น" แบ่งได้เป็น 6 กลุ่มธุรกิจหลัก ดังนี้.-

43%

อาหารพื้นเมืองไทย

33%

อาหารทะเลแปรรูป

4%

อาหารขบเคี้ยว

6%

อาหารแช่แข็ง
พร้อมรับประทาน
RTE, RTH

5%

ธุรกิจร้านอาหาร
(QSR)

9%

ธุรกิจฟาร์มสุกร

เป็นกลุ่มสินค้าแรก และสินค้าหลักของบริษัทฯ ตลอด มา คิดเป็นสัดส่วนที่มากที่สุดของยอดขายรวม โดยใช้ฐาน การผลิตจากโรงงานทั้ง 2 แห่ง คือโรงงานบางพลีและโรงงาน นครปฐม

อาหารพื้นเมืองไทยประกอบด้วย :แหนม หมูยอไส้กรอก อีสาน ลูกชิ้นหมูหมูหยอง หมูแผ่น กุนเชียงและอื่น ๆ ซึ่งผลิต ภายใต้ตรา “ส.ขอนแก่น” “หมูดี” “ห้วยแก้ว” “บ้านไผ่” “หมูแชมป์” และ “เศรษฐี” เป็นต้น

ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ของกลุ่มอาหารพื้นเมืองไทย ในปี 2562 นั้น ส่วนใหญ่จะเน้นไปที่การปรับปรุงคุณภาพ และ ประสิทธิภาพภายใน รวมถึงการพัฒนาสูตรใหม่ ๆ ที่ช่วยเพิ่ม คุณภาพ และประสิทธิภาพทางการผลิต

ช่องทางการจำหน่ายหลักยังคงเป็นช่องทาง Modern Trade, Convenience Store, ตลาดท่องเที่ยว และส่งออก โดยบริษัทฯเป็นผู้ดำ เนินการจัดจำ หน่ายโดยตรง สำหรับช่อง ทางตลาดสด(TraditionalTrade) นั้น ดำเนินการจัดจำหน่าย โดยผ่าน บริษัท มหาชัยฟู้ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ

ภาพรวมผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารพื็นเมืองไทยในปี2562 ยังคงมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หลัก และการขยายช่องทางการจัดจำหน่าย เช่น หมูยอโบราณ หมูยอบดหยาบคุณภาพสูง รสชาติดั้งเดิม และผลิตภัณฑ์ แหนมตรา “ห้วยแก้ว ” ที่ได้รับการตอบรับจากผู้บริโภคเป็นอย่างดี

ด้านราคา และต้นทุน สินค้ากลุ่มนี้้เป็นกลุ่มหลักที่ได้รับ ผลกระทบจากราคาวัตถุดิบเนื้อสุกรที่ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อย ละ 25 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา ถึงแม้ว่าต้นทุนจะเพิ่มขึ้นมาก แต่บริษัทฯ ไม่สามารถปรับราคาได้เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจ ของประเทศอยู่ในช่วงชะลอตัว กำลังซื้อของผู้บริโภคลดลง การแข่งขันสูงขึ้นทั้งคู่แข่งทางตรง และทางอ้อมที่เป็นสินค้า ทดแทน

อาหารทะเลแปรรูปเป็นอีกหนึ่งธุรกิจหลักของบริษัทฯ มี สัดส่วนยอดขายเป็นลำดับรองจากอาหารพื้นเมืองไทย ดำเนิน การผลิตโดย บริษัท มหาชัยฟู้ดส์ จำกัด (ชื่อเดิม บริษัท มหา ชัยฟู้ดโปรเซสซิ่ง จำกัด) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ การจำหน่าย ผลิตภัณฑ์ผ่านช่องทางค้าปลีกแบบดั้งเดิม (Traditional Trade)ช่องทางค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) และช่อง ทางตลาดต่างประเทศผ่านผู้นำเข้าในแต่ละประเทศ ปัจจุบัน มีประเทศที่ส่งออกหลัก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ประเทศในกลุ่ม ประชาคมยุโรป สหราชอาณาจักรอิสราเอลญี่ปุ่น เกาหลีและ ฮ่องกง

อาหารทะเลแปรรูปประกอบด้วย ลูกชิ้นปลา ลูกชิ้นกุ้ง ลูกชิ้นปลาหมึก และ ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อปลาอื่นๆ โดย มีการแบ่งกลุ่มผลิตภัณฑ์ตามระดับราคา และคุณภาพของ สินค้า เพื่อเป็นการเจาะตลาดให้ครอบคลุมทั้งตลาดบน และ ตลาดล่าง ปัจจุบันอาหารทะเลแปรรูปของ บริษัท มหาชัยฟู้ดส์ จำกัด มีทั้งที่ผลิตภายใต้ตราสินค้าของตนเอง เช่น “แต้จิ๋ว” “กวางเจา” “เกาลูน” “มหาชัย” “โอเด้ง” “เซี่ยงไฮ้” “ไคเซน” “ฮ่องกง” และ “ไทเป” และที่รับจ้างผลิต (OEM)

นอกจากผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสินค้าทะเลแปรรูปแล้ว บริษัท ยังมีผลิตภัณฑ์อื่นๆ อีก เช่น กลุ่มน้ำพริกน้ำจิ้ม ภายใต้ตรา สินค้า “ไทยเดิม” และ “ไทยนิยม” อีกด้วย

กลุ่มสินค้าขนมขบเคี้ยวประเภทเนื้้อสุกรเนื้อไก่ทำตลาดภายใต้ ตรา “อองเทร่” และ “ส.ขอนแก่น” ประกอบด้วยผลิตภัณฑ์ หมูแผ่นกรอบ หมูอบปรุงรส และแคปหมูกรอบ นั้น บริษัทฯ ยังคง บริหารการจัดจำหน่ายโดยตรงในช่องทาง Convenience Store ส่วน ช่องทาง ModernTradeและTraditionalTrade นั้นยังคงให้บริษัท ดีเคเอสเอช(ประเทศไทย)จำกัด เป็นตัวแทนจำหน่ายแต่เพียงผู้เดียว

อาหารแช่แข็งพร้อมรับประทาน และพร้อมอุ่นรับ ประทานในปีที่ผ่านมา บริษัทฯ มีนโยบายที่ต้องการเริ่ม เปลี่ยนแปลงจากการเป็นผู้รับจ้างผลิตภายใต้ตราสินค้าของ ลูกค้า (OEM) เพียงอย่างเดียวมาเป็นการพัฒนาสินค้าภายใต้ แบรนด์ของตัวเองเช่น ข้าวเหนียวหมูฝอย ตรา “ส.ขอนแก่น” ที่ขายผ่านช่องทาง Convenience Storeเป็นหลัก และขาหมู ยูนนาน ผ่านช่องทางร้านค้าของตนเองและ ModernTrade และจะมีการขยายผลไปอย่างต่อเนื่องเพื่อเสนอให้ผู้บริโภคมี ทางเลือกมากขึ้น

บริษัทฯ ได้เปิดร้านอาหารประเภทส้มตำ ไก่ย่าง ภาย ใต้ตรา “Zaap Classic” ในรูปแบบของบริษัทฯและแฟรนไชส์ รวม 12 แห่งในปีพ.ศ. 2562 โดยในปีนี้อาศัยกลยุทธ์หลัก คือ การให้บริการ Delivery ทั้งในรูปแบบ Call Center และ Website ของบริษัทฯ ตลอดจนการส่งอาหารผ่านตัวแทนจาก Platform ต่าง ๆ อาทิไลน์แมน แกรบ ฟู้ดแพนด้าและบางส่วนจัดส่งโดย พนักงานของบริษัทฯและการให้บริการข้าวกล่องสำหรับจัดเลี้ยง กลุ่มบริษัท และสำนักงานต่างๆ

สำหรับร้านข้าวขาหมูตรา “ยูนนาน” ในปี 2562 มี จำนวน 17 สาขา บริษัทฯ มุ่งเน้นการขยายสาขาในรูปแบบของ แฟรนไชส์และการสร้างเมนูเอกลักษณ์ของร้านจากวัตถุดิบหลัก คือขาหมูอาทิข้าวกะเพราขาหมูหรือเมนูขาหมูหมั่นโถวพร้อม ทาน ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากลูกค้าซึ่งในปีนี ้บริษัทฯ ได้ให้ความสำคัญของการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของ สาขาในประเทศให้มีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีขึ้น

บริษัท ส.ปศุสัตว์จำกัด ดำเนินธุรกิจฟาร์มพ่อ-แม่พันธุ์ สุกรและสุกรขุน ในปัจจุบัน บริษัทได้จำหน่ายสุกรขุนเป็นหลัก โดยบริษัทให้ความสำคัญสูงสุดในด้านการรักษาคุณภาพของ สินค้า กล่าวคือ คุณภาพซากสุกรที่มีมันน้อยแต่มีเนื้อแดงมาก ตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค อีกทั้งบริษัทยังได้ดำเนิน การปรับปรุงพันธุ์พ่อ-แม่สุกรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัทจะสามารถรักษาคุณภาพซากสุกรได้อย่างต่อเนื่อง

บริษัทตระหนักถึงการที่ไม่สามารถควบคุมกลไก และราคาในตลาดสุกรขุนได้บริษัทจึงให้ความสำคัญใน การหาวิธีลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำระบบการให้ อาหารอัตโนมัติมาใช้แทนแรงงานในการให้อาหารสัตว์ในโรง เรือนสุกรซึ่งแนวโน้มการขาดแคลนแรงงานจะมีมากขึ้น และ จะส่งผลต่อต้นทุนการเลี ้ยงสุกรที่สูงขึ้นอย่างมีนัย อนึ่ง บริษัท ได้มุ่งเน้นการผลิตเชิงปริมาณให้มากขึ้น กล่าวคือ ผลิตจำนวน ลูกสุกรต่อคอกให้มากขึ้น เพื่อจะทำให้บริษัทสามารถบริหาร ต้นทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม และเพื่อสามารถทำกำไรได้ มากขึ้นในช่วงที่ราคาสุกรขุนขึ้น และในขณะเดียวกันก็จะมี โอกาสขาดทุนน้อยลงเมื่อราคาสุกรขุนปรับตัวลง

อีกทั้งธุรกิจฟาร์มสุกรถือเป็นธุรกิจที่สร้างหลักประกัน ทางด้านวัตถุดิบให้กับทางบริษัท โดยในปี 2562 บริษัทคาด การณ์ว่าราคาสุกรขุนจะเฉลี่ยปรับตัวขึ้นตลอดทั้งปีแต่อาจมี บางช่วงที่ราคาไม่ได้ปรับขึ้นเนื่องจากกลุ่มผู้เลี้้ยงสุกรมีความ กังวลเกี่ยวกับโรคระบาดได้แก่โรคในสุกร(ASF) และได้มีการ ทยอยขายสุกรเข้าสู่ท้องตลาดมากกว่าอุปสงค์ในตลาด จึง เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ราคาสุกรไม่ได้ขยับขึ้นเป็นนัยในช่วง ปีไตรมาส 3 ของปี 2562 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม บริษัทได้มีการกำหนดมาตรการป้องกัน เชื ้อโรคเข้าสู่ฟาร์ม ซึ่งหนึ่งในมาตรการที่สำคัญที่สุดคือ การ ยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ (Bio-security) ให้สูงขึ้น เช่น ห้ามบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าเขตฟาร์ม เป็นต้น นอกจากนี้บริษัทได้วางแผนเพิ่มกำลังผลิตแม่สุกรจาก 3,000 แม่เป็น 5,000 แม่ ในปี 2563 และ ปี 2564